บทความเรื่อง ศิลปะหรืออนาจาร
ขวัญชนก ทองสนธิ
สรุปสาระสำคัญ
ในปัจจุบันสังคมไทยนั้น ก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความเป็นศิลปะในตัวงาน หรือว่าเป็นอนาจารกันแน่ซึ่งก็มีการให้ความมายของคำคือ อนาจาร หมายถึง ความประพฤติชั่ว น่าอาย ลามก น่าบัดสี เสื่อมศีลธรรม ส่วนศีลปะนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์อื่นๆ ซึ่งเนื่องจากศิลปะนั้นเป็นเรื่องของอารมณ์ รสนิยม จึงทำให้การกำหนดคุณค่าว่าสิ่งใดคือศิลปะหรือไม่ใช่นั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ในสังคมไทยการลดคุณค่าของผู้หญิงโดยผ่านสิ่งที่เรียกว่าภาพนู้ดยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงการให้ความหมายของการถ่ายภาพนู้ด บางกลุ่มให้ความหมายในเชิงศิลปะโดยกระกาศเจตนารมณ์ออกมาว่าเป็นการกระทำเพื่อศิลปะ ในขณะที่บางกลุ่มมองว่าเป็นสิ่งที่ยั่วยุกามารมณ์ ซึ่งก็ได้มีการให้ความหมายต่อภาพนู้ดในสังคมไทยโดยผู้ที่ถือได้ว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยใช้การสร้างสรรค์ทางศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านองค์ประกอบและทฤษฎีทางศิลปะ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้คนดูมองเห็นความงามของร่างกายมนุษย์มากกว่าที่จะมองในเชิงอนาจาร ส่วนทางด้านสตรีนิยมก็มองว่าภาพนู้ดเป็นการแสดงการกดขี่ผู้หญิงอีกทางหนึ่ง โดยเป็นการแสดงอำนาจของผู้ชายเป็นสำคัญซึ่งเป็นการลดคุณค่าของความเป็นผู้หญิงลงไป
ประเด็นวิจารณ์
ในเรื่องของศิลปะก็มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นหลายแนวคิดทั้งแนวคิดที่กล่าวถึงศิลปะทีมีคุณค่าในตัวเอง เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ เพื่อการแสดงถึงอารมณ์ที่สูงส่ง เป็นการปลดปล่อยพลังของศิลปินออกมาเพื่อสนองความต้องการของศิลปินเป็นสำคัญ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นการให้คุณค่าของศิลปะเพื่อสิ่งอื่น โดยเฉพาะศิลปะเพื่อศีลธรรม ศิลปะไม่มีคุณค่าในตัวเองเป็นเพียงเครื่องมือในการเข้าถึงศีลธรรมเท่านั้น ซึ่งในมุมมองนี้ หากมีศิลปะหรือผลงานชิ้นใดที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมในสังคม ถือว่าศิลปะนั้นเป็นศิลปะที่เลว ไม่ควรได้รับการยอมรับหรือได้รับการเผยแพร่ออกไป ซึ่งในมุมมองของผู้นำเสนอบทความนั้น คำว่าศิลปะ กับอนาจารเป็นการนำเอาศิลปะกับศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วก็คงเป็นไปตามแนวความคิดของทฤษฎีที่สองที่ได้กล่าวไว้ ศิลปะจึงไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเต็มที่เพราะต้องอยู่ภายใต้กรอบของศีลธรรม แต่กระนั้นก็ดี ยังมีบางกลุ่มที่พยายามนำคำว่าศิลปะเพื่อเป็นช่องทางในการเสนอภาพหรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นศิลปะ แต่เป็นการใช้ศิลปะมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมปัจจุบัน
แต่ในสังคมปัจจุบันนั้นภาพทีเป็นสื่อที่ส่อไปในทางลามกเหล่านี้ ยังเป็นสื่อที่ไม่รุนแรงเท่ากับสิ่งที่เป็นสิ่งพมพ์เกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นทางเพศโดยตรง ในมุมมองของผู้วิจารณ์มองปัญหาในการตีความและลดคุณค่าในความเป็นผู้หญิงโดยนำมาเป็นจุดสำคัญหรือจุดที่เชื่อมโยงในการขายสิ่งค้า โดยผูกโยงกับเงื่อนไขของเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ซึ่งต้องการสร้างจุดขาย และเล็งเห็นถึงกิเลสของมนุษย์ว่ามีมากต่อสิ่งใด ก็นำส่งนั้นขึ้นมาเป็นตัวดึงให้ไปสู่สิค้าของตน จะเห็นได้ว่าหากมิใช้ในระบอบเศรษฐกิจแบบนี้แล้วก็คงไม่เกิดการนำเอาเรื่องเพศขึ้นมาเป็นจุดสำคัญในการขายสินค้า หากคนในสังคมไม่หลงไปกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือยจนเกินความจำเป็นของชีวิต ก็คงไม่อาจจะตกเป็นทาสของวัตถุนิยม
แต่ก็มีในแง่มุมหนึ่งที่ข้าพเจ้าเห็นด้วยในมุมมองของผู้เสนอคือ การเป็นศิลปะหรืออนาจารนั้นขึ้นอยู่กับผู้ชม ผู้ดู ที่จะตัดสินว่ามันมีความงดงามหรือมีความยั่วยุทางเพศ แต่ในความเห็นของผู้วิจารณ์ก็เห็นว่ามิใช่เกิดจากตัวผู้รับสื่อทั้งหมด เพราะในบางครั้งการสร้างสรรค์ของผู้ผลิตก็มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอ่างมาก หากภาพนั้นเป็นการจงใจที่จะยั่วยุให้เกิดกิเลส ก็มิอาจจะมองให้เป็นศิลปะได้โดยง่าย แต่ก็อาจมีการยกเว้นต่อผู้ที่สามารถทำใจ ละกิเลสได้แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น